.

กศน.ตำบลราไวย์แหลมพรหมเทพ อำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต  ยินดีต้อนรับ ทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยนชมผลงานของเรา

 
 
 
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ ?
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยมาก
  หน้าหลัก    แนะนำ ศรช. แหลมพรหมเทพ 
แนะนำ ศรช. แหลมพรหมเทพ
 

 

 

 

 

          กศน.ตำบลราไวย์ ที่ตั้งเลขที่ 11/6 ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 1 บ้านในหาน ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต รหัสไปรษณีย์ ๘๓๑๓๐ โทรศัพท์ ๐ ๗๖๒๑ ๑๒๗๗ โทรสาร ๐ ๗๖๒๔ ๐๔๔๐  มีเครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ที่อยู่ในตำบลราไวย์ คือศูนย์การเรียนชุมชนบ้านแหลมพรหมเทพ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ อาคารวิสาหกิจชุมชนแหลมพรหมเทพ ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

 

สภาพทั่วไปข้อมูลพื้นฐานเทศบาลตำบลราไวย์

1.1  ที่ตั้งและอาณาเขต

           เทศบาลตำบลราไวย์ ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองภูเก็ตห่างจากที่ว่าอำเภอเมืองภูเก็ต 11 กิโลเมตร ตำบลราไวย์มีพื้นที่ประมาณ 38 ตารางกิโลเมตรกิโลเมตร (ประมาณ 23,750 ไร่)  เป็นพื้นที่บนเกาะภูเก็ตประมาณ 23 ตารางกิโลเมตร และเป็นพื้นที่บนเกาะต่าง ๆ อีก 9 เกาะ ประมาณ 15 ตารางกิโลเมตร ตำบลราไวย์อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดภูเก็ตมีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ              จด            ตำบลฉลอง อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ทิศใต้                  จด                     ทะเลอันดามัน

ทิศตะวันออก         จด            อ่าวฉลองและทะเลอันดามัน

ทิศตะวันตก           จด           ตำบลกะรน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต และทะเลอันดามัน

 1.2 ภูมิประเทศ

            ภูมิประเทศของตำบลราไวย์ มีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งรูปร่างค่อนข้างยาวลงมาทางใต้ จากวงเวียนห้าแยก คือแนวเขตแบ่งแยกตำบลมีถนนวิเศษเป็นแนวยาวเรียบชายฝั่งทะเลอันดามัน จด สุดถนนหาดราไวย์ จากนั้นเป็นถนนขึ้นแหลมพรหมเทพ และเข้าสู่ถนนรอบเกาะ และชายฝั่งเลียบเนินเขาไปตำบลกะรน มีสภาพทางกายภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มติดเนินเขาบางแห่งมีป่าไม้ หนองน้ำ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง เช่น แหลมพรหมเทพ หาดราไวย์ แหลมกาน้อย แหลมกาใหญ่ หาดในหาน หาดยะนุ้ย หาดอ่าวเสน นอกจากนี้ตำบลราไวย์ยังประกอบด้วยพื้นที่ที่เป็นเกาะต่าง ๆ จำนวน 9 เกาะ คือ เกาะโหลน เกาะเฮ เกาะรายาน้อย เกาะรายาใหญ่ เกาะบอน เกาะมัน เกาะแอว เกาะนอก และเกาะแก้ว

1.3 จำนวนหมู่บ้าน  ตำบลราไวย์มีหมู่บ้าน        ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่บ้านต่อไปนี้

หมู่ที่ 1    บ้านในหาน                        หมู่ที่ 5    บ้านบางคณฑี

หมู่ที่ 2    บ้านราไวย์                         หมู่ที่ 6    บ้านแหลมพรหมเทพ

หมู่ที่ 3    บ้านเกาะโหลน                    หมู่ที่ 7    บ้านใสยวน

หมู่ที่ 4    บ้านบางคณฑี

 

 

หมู่ที่  1  บ้านในหาน

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน   

ประวัติของหมู่บ้านมาจากสถานที่ตั้งของชุมชนเป็นป่าไส และเป็นที่ทำรังของผึ้งยวนจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านใสยวน   ประมาณปี พ.ศ. 2534  ได้แบ่งแยกหมู่บ้าน  หมู่ที่ 1 ตำบลราไวย์   เป็นหมู่ที่ 7  ชื่อบ้านใสยวน  ชุมชนบ้านใสยวน หมู่ที่ 1 ตำบลราไวย์  หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า บ้านในหาน ทั้งนี้พื้นที่ที่แยกมาเป็นหมู่ที่ 1 ตำบลราไวย์ นั้น อยู่ติดกับทะเล  หาดในหาน  ซึ่งเป็นหาดที่สวยงามและสงบเงียบ ทุกปีจะ

มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อนที่หาดแห่งนี้   บุคคลภายนอกหมู่บ้านก็นิยมเรียกชื่อ บ้านในหาน

          หมู่ที่ 2 บ้านราไวย์

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน   

                   นายจำเริญ  มุขดี  อดีตผู้ใหญ่บ้านหาดราไวย์  เล่าว่า นายล้อม วงศ์จันทร์   ชาวบ้านจังหวัดนครศรีธรรมราช  ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ณ หาดราไวย์  เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2430   ได้แต่งงานสร้างบ้านเรือนเป็นหลักฐานมั่นคง   ด้วยความขยันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จึงเป็นที่ยอมรับของเพื่อนบ้านในละแวกหมู่บ้าน  จึงได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าเมืองในสมัยนั้น ให้เป็นนายพัน  ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกำนัน  โดยเรียกกันติดปากว่า  กำนันล้อม  ถือได้ว่าเป็นกำนันคนแรกของตำบลราไวย์  ต่อมาญาติพี่น้องก็อพยพมาอยู่ด้วย  ชื่อ นายเอี่ยม  ประจันทบุตร  ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณ  หลวงอนุภาษภูเก็ตการ  ซึ่งมาจากเมืองจีน  มีชาวเลพวกพลัดหรือพวกสิงห์จากเกาะบริเวณใกล้เคียงหาดราไวย์   มาขออยู่อาศัยด้วย  กำนันล้อมได้แบ่งที่ดินทำกินให้ตามส่วน  ถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่ได้เข้ามาตั้งรกรากกลุ่มแรกในหมู่บ้านหาดราไวย์

            หมู่ที่ 3 บ้านเกาะโหลน                                                                                                 ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน                                                                                     ในอดีตเมื่อ 100 กว่าปีก่อน  ได้มีชาวบ้านจาก จังหวัดสตูล ชื่อ โต๊ะนางู้  เดินทางมาตั้งบ้านเรือนอยู่บนเกาะโหลน  ซึ่งมีสภาพเป็นป่า  ต่อมาคนภายนอกเห็นว่ามีคนอยู่ก็พากันอพยพไปอยู่ด้วยหลายครัวเรือน   บ้านเกาะโหลนจัดตั้งเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ 2480  มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายดล  สองเมือง   มีประชากร  33 ครัวเรือน  และที่เรียกว่าบ้านเกาะโหลน  ผู้นำชุมชนเล่าว่าพอถึงฤดูทำนาชาวบ้านใกล้เคียงกลัวว่าควายที่เลี้ยงไว้จะกินข้าวในนา  ก็พาควายที่เลี้ยงไว้กรรเชียงเรือ  จูงควายว่ายน้ำมาปล่อยไว้ที่เกาะโหลน  พอหมดฤดูทำนาเจ้าของควายก็จะมาพาควายกลับแต่มีควายที่หลุดเชือก เป็นควายเถื่อนอยู่ที่เกาะโหลน   ควายเถื่อนพวกนี้ก็จะพากันกินหญ้า กินต้นไม้บนเกาะทำให้โหลนเตียน  จึงได้เรียกว่า บ้านเกาะโหลน

          หมู่ที่ 4 บ้านบางคณฑี

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน 

                   เมื่อ  100  กว่าปีก่อน  ได้มีชาวมุสลิมจากจังหวัดสตูล  เดินทางอพยพมาอยู่ที่บ้านบางคณฑี   ได้ตั้งถิ่นฐานมีครอบครัว  มีญาติพี่น้องเดินทางมาอาศัยอยู่ด้วย  และได้ขยายเผาพันธุ์มากขึ้น  จนปัจจุบันมีสภาพเป็นชุมชน           ประวัติความเป็นมาของชื่อ บ้านบางคณฑี  มาจากหลายแหล่ง  สรุปได้  ดังนี้

                   บ้านบางคณฑี  สภาพหมู่บ้าน มีบาง  มีคลองเยอะ เวลามีเรือผ่านไป-มา  ก็จะพักจอดเพื่อตักน้ำกิน-น้ำใช้  เมื่อก่อนในหมู่บ้านมีคนอยู่น้อย  ร้านค้าในหมู่บ้านก็จะเปิดได้เพียง  1  แห่ง  ถ้าเปิดหลายแห่งก็จะขายไม่ได้   เพราะฉะนั้นถ้าร้านหนึ่งเปิด  อีกร้านหนึ่งก็ต้องปิด     บางก็เล่าว่า  บ้านบางคณฑี  เมื่อก่อนคนในหมู่บ้าน  มีนิสัยนักเลง อันธพาล  ถ้ามีใครพลัดถิ่น  ไม่มีเครือญาติในหมู่บ้าน  เดินทางเข้าไปในหมู่บ้านก็จะถูกพวกนักเลง อันธพาล  ก่อกวน  เล่นงาน  คนละทีจนไม่สามารถอยู่ได้  ต้องอพยพออกไปจากหมู่บ้าน

         

หมู่ที่  5  บ้านบางคณฑี  (ห้าแยก)

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

                   บ้านห้าแยก  หมู่ที่  5  ตำบลราไวย์   ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านมานาน ประมาณมากกว่า  100 ปี     พื้นที่หมู่บ้านตั้งอยู่บริเวณวงเวียนห้าแยก   จึงเรียกชื่อหมู่บ้านตามสถานที่ตั้ง  คือ  บ้านห้าแยก 

         

หมู่ที่ 6 บ้านแหลมพรหมเทพ

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน                                         

                   บ้านพรหมเทพ  ได้แยกออกมาจาก  หมู่ที่ 2 ตำบลราไวย์  เมื่อปี  พ.ศ. 2516  มีผู้ใหญ่บ้านคนแรก  นายสนิท  หยดย้อย  เดิมเป็นพื้นที่ทุ่งเลี้ยงสัตว์   ได้สงวนไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.  2479  หลังสงครามโคกครั้งที่ 2  ปี พ.ศ. 2487  ข้าวยาก  หมากแพง  จึงได้ให้ชาวบ้านมาทำไร่  ปลูกข้าว ปี พ.ศ. 2519 นายอำเภอชิต ธรรมประวัตได้มีการพัฒนาตัดทางขึ้นแหลมพรหมเทพโดยใช้งบ   อบจ.  ชาวบ้านได้อพยพขึ้นไปอยู่บนแหลม  ลักษณะพื้นที่ยื่นออกไปในทะเลเดิมเรียกแหลมคอจ้าว  และมีหาดในพื้นที่  คือ  หาดพรหมเทพนุ้ย,  หาดพรหมเทพใหญ่  จึงใช้ชื่อหมู่บ้าน   บ้านแหลมพรหมเทพ

         

หมู่ที่ 7 บ้านใสยวน

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

                   ชุมชนบ้านใสยวน เป็นชุมชนมุสลิม  เดิมชุมชนบ้านใสยวนรวมอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบล ราไวย์ ได้แบ่งหมู่บ้านเป็นหมู่ที่ 7 ตำบลราไวย์ เมื่อปี พ.ศ. 2534 ประวัติชื่อของหมู่บ้าน มาจากสถานที่ตั้งของชุมชนเป็นป่าใส และเป็นที่ทำรังของผึ้งยวน จึงตั้งชื่อชุมชนว่า  บ้านใสยวน  ชาวบ้านในชุมชนอยู่กันแบบเครือญาติ เดิมประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวนมะพร้าว และเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันชุมชนบ้านใสยวนได้ขยายเป็นหมู่บ้านจัดสรร ธุรกิจบ้านเช่า ทำให้มีคนจากภายนอกเข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านมากขึ้น สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ประกอบกับคนรุ่นใหม่ได้เปลี่ยนอาชีพจาเกษตรกรรมมาเป็นขายแรงงาน รับจ้าง ค้าขาย รับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจบ้านเช่า บ้านจัดสรร

1.4 จำนวนประชากรในตำบลราไวย์

                   ประชากรตามทะเบียนราษฎร์ทั้งสิ้น 14,439  คน แยกเป็นชาย 6,815 คน หญิง 7,624 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 380  คน/ตารางกิโลเมตร   จำนวนครัวเรือน 9,956  ครัวเรือน 

(ข้อมูล  ณ  เดือนมิถุนายน  พ.ศ. 2552  ที่มา สำนักทะเบียนอำเภอเมืองภูเก็ต )

 

 

 

 

นางสาวลลินทิพย์ ศุภพฤกษ์
ผู้อำนวยการ
กศน.อำเภอเมืองภูเก็ต

นายณภัทร  นิมุ
กศน
ตำบลราไวย์แหลมพรหมเท

ติดตามความเคลื่อนไหว

ผ่าน Fan Page Facebook

ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเราทาง Facebookได้ที่นี่

 
เมษายน 2567
อา พฤ
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 16 17 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
วันที่ 27 เมษายน 2567
 
ออนไลน์ทั้งหมด 1 คน
หมายเลข IP 18.222.119.148
คุณเข้าชมลำดับที่ 119,113
 

ครู กศน.ดอทคอม เว็บเพื่อครู กศน. การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

 

 

 
กศน.ตำบลราไวย์ แหลมพรหมเทพ อำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต
หมู่ที่ 6 ตำบลราไวย์ แหลมพรหมเทพ
Email : nfe.lampromtep@gmail.com